วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ไฟล์ข้อมูล
รูปแบบของข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ ได้จากลักษณะของไอคอนและนามสกุลของไฟล์ข้อมูล
(3. จิตรกร)
อัพโหลด  การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปเก็บรักษาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์สำหลับถ่ายโอนข้อมูลโดยเฉพาะ
(4. วิริทธิ์พล)
มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดิทัศน์
(5. สิริชัย)
อาชญากรคอมพิวเตอร์ ผู้กระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้คือ มือสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งจะกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น แครกเกอร์ (Cracker) ที่เป็นผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และอาชญากรมืออาชีพ (Career Criminals) ที่มีความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น
(6. ชลกร)
เครือข่ายแลน เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ
(7. ยศนิธิ)
เครือข่ายแลน    เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ ๆ มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน   10  กิโลเมตร  โดยมี จุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็ก ๆ  หรือในองค์กรเดียวกัน                    
เชิร์ฟเวอร์   นิยมเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน
(8. ธรรมนิตย์)
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษร ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc
(9. พงศกร)
เครือข่ายแมน เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างท้องถิ่นหรือสำนักงานที่มีอาคารหรือสำนักงานอยู่ในหลายพื้นที่แต่อยู่ในประเทศหรือเมืองเดียวกันโดยมุ่งเน้นการใช้งานร่วมกันเฉพาะกลุ่มไม่เปิดบริการให้ใช้แบบสาธารณะจึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายค่อนข้างสูง
(10. สุรดิษ)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc

(11. อรรถพล)
(12. กิตติพงษ์)
(13. ชนินทร์)
จานแม่เหล็ก  มีลักษณะเป็นวงกลม แบน และเครือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจนมีทั้งขั้วบวกและ ขั้วลบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ข้อมูลดิจิทัล ทำให้สามารถ บันทึกข้อมูลได้
(14. ธัญญ)
เซิร์ชเอนจิ้น  เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภทเซริท์เอนจิ้นประเภทที่นิยมมากที่สุด  คือ  การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ  
 จุดเชื่อมโยง  วัตถุหรือข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อโยงวัตถุหรือข้อมูลอื่น ๆ  ได้ด้วยการคลิกโดยวัตถุหรือข้อมูลนั้นอาจเป็นตัวอักษร ข้อความ  ภาพ  หรือภาพเคลื่อนไหว
(15. รวิสุทธิ์)
คอมพิวเตอร์แบบพกพา    คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และส่งเสริมการทำงานด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อส่งเสริมการใช้งานแบบอิสระไม่นิยมติดตั้งไว้ในสถานที่เดียวเหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(16.  สาธิต)
เคอร์เซอร์  ตัวชี้ตำแหน่งที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยปกติจะมีรูปแบบเป็นหัวลูกศร สำหรับชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเคอร์เซอร์ในโปรแกรมประมวลผลจะมีลักษณะคล้ายตัวไอ (I) ในภาษอังกฤษ เพื่อแสดงตำแหน่งที่พิมพ์
 (17. ณัฏฐาภรณ์)
เท็กซ์ไฟล์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการเก็บข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท็กซ์ไฟล์มักมีนามสกุล .txt และ .doc
(18. ณัฏฐณิชา)
ตรรกศาสตร์  องค์ความรู้ที่กล่าวถึงความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยจริงและเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้แทนค่า 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์
(19. สุวภัทร)
มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดิทัศน์
 (20. ตรงศร)
ไมโครชิป  สื่อบันทึกข้อมูลประเภทนึง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่
(21 วริศรา)
รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า
(22. พิมพ์วิมล)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ

(23. พุทธิดา)
ระบบสารสนเทศเพื่อประมวลผล เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลผลรายการธุรกรรม ข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ
(24. พิมพ์ชนก)
เน็ตบุ๊ค   อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊คแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า นิยมใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้สร้างชิ้นมากเหนือคอมพิวเตอร์ทั่วไป
(25. คชาภรณ์)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดทางกฏหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
อินเทอร์นัลโมเด็ม  เป็นโมเด็มทีติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก ติดตั้งและซอมแซมได้ยาก เวลาทำงานจะเกิดความร้อนซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์
(26.  เอมิกา)

Batch processing: การประมวลผลแบบกลุ่ม    การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม

(27. กมลวรรณ)
โลกาภิวัตน์  การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ประชากรโลกเกิดการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว มีความหมายเหมือนกับโลกานุวัตร
เวอร์ชัน  รุ่นของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นเดิม โดยในเวอร์ชันของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มักจะแสดงไว้ด้ายหลังชื่อของผลิตภัณฑ์
(28. ชนิสร)
ไคลเอนต์  เรียกอีกอย่างว่า เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องที่ต้องให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลและเครื่องที่สามารถประมวลผลได้เอง ปกติจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์
 (29. ธัญญาลักษณ์)
คลิปวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงที่ที่เป็นเหตุการณ์จริง    ซึ่งบันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็ก    นิยมอัปโหลดไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ต   ปัจจุบัน  สามารถเรียกดูได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที
(30.  ธิธาน)

Scanner (สแกนเนอร์) เป็นอุปกรณ์ที่จับภาพจากเครื่องพิมพ์ภาพ (photographic print) โปสเตอร์ หน้านิตยสาร และแหล่งคล้ายกันสำหรับการแก้ไขและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ มาใน hand-held, feed-in และ ประเภท flatbed และสำหรับการสแกนเฉพาะดำขาว หรือสี สแกนเนอร์ความละเอียดสูงได้รับการใช้สำหรับการสแกนสำหรับการพิมพ์ความละเอียดสูง แต่สแกนเนอร์ความละเอียดต่ำเพียงพอสำหรับการจับภาพสำหรับการแสดงผลจอภาพ ตามปกติ สแกนเนอร์มากับซอฟต์แวร์ เช่น ผลิตภัณฑ์Adobe Photoshop ที่ให้ปรับขนาดและการปรับปรุงอื่นกับภาพที่จับมา ตามปกติ สแกนเนอร์แนบติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับ Small  Computer System Interface (SCSI) การประยุกต์ เช่นPhotoshop ใช้โปรแกรม TWAIN อ่านภาพ


(31. นภัสสร)
อินเตอร์เน็ตคาเฟ่  ร้านที่ให้บริการเช่าคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอรืเน็ตโดยคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือชั่วโมง ปัจจุบันนิยมบริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับเกมประเภทที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อีเบย์  เว็บไซต์ที่ให้บริการโพสต์ (Post) และเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ shopping Mall โดยผู้ซื้อและผู้จำหน่ายจะต้องสมัครเป็นสามชิกจึงจะสามารถใช้บริการได้
(32. ปาริฉัตร)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(33.  ภนิดา)
รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า
(34. รัตติกาล)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  นิยมเรียกว่า อีเมล (E-mail) เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  โดยผู้ส่งจะต้องมีที่อยู่หรือแอดเดรส (Address)
 (35. ลัดดา)
ผู้เชี่ยวชาญ    ผู้ชำนาญการหรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะสาขาของตนเอง
(36. วรางคณา)
สารสื่อสารไร้พรมแดน  ความหมาย ระบบการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ทุกเวลาทุกสถานที่
(37. ศจี)
การประมวลผล  การจัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดสารสนเทศ เช่น การเปรียบเทียบ การคำนวณ การสรุป
(38. สุรัตนา)
ซอฟต์แวร์ระบบ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์  เพื่อให้องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้

(39. หทัยกาญจน์)
พระราชบัญญัติ  กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฏหมายอื่น
(1. พิทักษ์)

พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550



พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
                “ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
-(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                -(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
        ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท 
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
-(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
-(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
-(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
-(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
-(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
-(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
-(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
-(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
 พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
-(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
-(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
-(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
-(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
-(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
-(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
-(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
-(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรี
มีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา


ที่มา http://www.sitech.co.th