วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต



ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
     1.  ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
     2.     หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
     3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
     4.    ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน   
     5.    ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
     6.   ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้

วิธีการสร้างบล็อกเกอร์


         Blogger.com และ Blogspot.com ซึ่งให้บริการ Blog ฟรีโดย Google ที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมในหมู่คนไทยมาในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติมากมาย การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ Google ที่จะช่วยเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ได้ถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบริการ Blogger-Blogspot การใช้งานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะกับผู้ใช้งานทุกคน แม้แต่ Blogger ที่อาจเรียกได้ว่าอายุมากที่สุดก็ได้ ยังใช้บริการของที่นี่เลย คนนั้นก็คือ Donald Crowdis ผู้เฒ่าอายุ 92 ปี ดู Blog ของเขาได้ที่ dontoearth.blogspot.com เห็นแล้วอึ้งใช่มั้ยละครับ ถึงแก่แต่ก็ยังมีไฟ แล้วคุณล่ะ มี Blog กันแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เข้าเรื่องต่อกันเลย
1. เข้าไปทีเว็บไซต์ Blogger.com จะปรากฏหน้าจอแบบนี้นะครับ ให้คลิกที่ Create Your Blog Now เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป





2. กรอกรายละเอียดต่างให้ครบทุกช่อง ซึ่งประกอบด้วย อีเมล์ รหัสผ่าน ยืนยันรหัสผ่าน และกรอกตัวอักษรที่ปรากฏขึ้นมา พร้อมติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง I accept the Terms of Service เพื่อยอมรับข้อตกลงต่างๆ ตามลำดับ เสร็จแล้ว Continue เพื่อไปขั้นตอนต่อไป




3. กรอกรายละเอียดเล็กน้อยเกี่ยวกับ Blog กรอกชื่อ Blog (URL ของ Blog ที่เราต้องการ) คลิก Continue ไปสู่ขั้นตอนต่อไป





4. เลือกรูปแบบ (Theme-Template) ที่เราต้องการครับ มีให้เลือกเยอะดี เลือกได้ตามใจชอบ




5. เสร็จเรียบร้อยสมดังตั้งใจ คลิกที่ Start Posting เพื่อเริ่มเขียน Blog



วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ในยุคของสังคมแห่งข่าวสารปัจจุบัน  การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น  เครือข่าวคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันได้ในปัจจุบันมี  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทุกทิศทั่วโลก  ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของอินเตอร์เน็ต  นับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบัน  อินเตอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเตอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ  จุดใดจุดหนึ่งก็ตามเพื่อทำการส่งข้อมูล  และข่าวสารระหว่างกันได้  การบริการข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมีหลาหลายรูปแบบและมีผู้สนใจเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นทุกวัน  มีเครือข่ายทั่วโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประมาณ 50,000 เครือข่าย  จำนวนผู้ใช้จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วในปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 100 ล้านคน  และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  เราจึงกล่าวได้ว่า  อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขว้าง  มีการขยายตัวสูง  และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อข่ายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  อินเตอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจงหากแต่มีประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต  ในปี พ.ศ.2512  ก่อนที่จะก่อตัวเป็นอินเตอร์เน็ตจนกระทั่งทุกวันนี้
                อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาจาก  อาร์พาเน็ต(ARP Anet) ซึ่งเป็นเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้การรับผิดชอบของ  อาร์พาเน็ต (Advanced Pesearch Projects Agency)  ในสังกัดกระทรวงกลาโหม  ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต  และโดยเนื้อแท้แล้ว  อาร์พาเน็ต  เป็นพลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย  ยุคสงครามเย็นในทศวรรษของปี พ.ศ. 2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะสงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย  สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน  โดนเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์


http://www.comsimple.com/

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ด้านการศึกษา
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
           - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้



http://blog.eduzones.com

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ตคืออะไร
                อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว



การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
จดหมายอีเลกทรอนิกส์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์ (E-mail)  หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วนคือ รหัสผู้ใช้หรือ UserID ซึ่งจะได้รับจากผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่สองคือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการบริการรับส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ HostName โดยรูปแบบการเขียนจะเริ่มต้นด้วย  UserID  คั่นด้วยเครื่องหมาย  '@'  ตามด้วย  HostName  ดังนี้ userid@hostname ตัวอย่างเช่น u9999999@dusit.ac.th หมายถึงผู้ใช้มี UserID  ป็น u9999999 และเป็นสมาชิกอยู่ที่ Host ชื่อ dusit.ac.th
เป็นต้น
                จุดเด่นของอีเมล์ คือ สามารถติดไฟล์ไปกับอีเมล์ได้ ซึ่งไฟล์ที่ติดไปนั้นอาจจะเป็นไฟล์ภาพ ไฟล์โปรแกรม หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ เมื่อคุณส่งอีเมล์ไปมันจะวิ่งไปยังปลายทาง ในแทบจะทันที ไม่ว่าปลายทางจะอยู่ห่างจากออไปใกล้เพียงฝ่ามือหรือไกลสุดขอบโลกก็ตาม
                ข้อดีของอีเมล์ในสิ่งนี้ทำให้ผู้ที่ต้องติดต่อกับบุคคลในต่างประเทศนิยมที่ จะติดต่อผ่านทางอีเมล์ เพราะว่าราคาถูก สะดวดรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีผู้รู้หลายท่านคาดการณ์ว่าต่อไปนามบัตรของผู้คนจะต้องมีอีเมล์แอดเดรสกัน ทุกคนเช่นเดียวกับที่ต้องมีหมายเลขแฟกซ์ขององค์กรไว้ในนามบัตร
อีเมล์แอดเดรส
                ในการส่งจดหมายธรรมดาผู้ส่งจดหมายต้องทราบที่อยู่ของผู้รับก่อน การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ใช้หลักการเดียวกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนจะมีที่อยู่หรือแอดเดรสเป็นของตนเอง เช่น budsayaphan@hotmail.com หรือ budsayaphan@yahoo.com โดยได้รับแอดเดรสจากการที่คุณสมัครเป็นสมาชิกตามเว็บที่มีการบริการอีเมล์
                แอดเดรสแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้(user name) และชื่อโดเมน(domain name) ซึ่งผู้ใช้หมายถึงชื่อหรือชื่อใดๆ ของผู้ใช้อีเมล์ ข้างหลังชื่อผู้ใช้จะเป็นเครื่องหมาย @ (at sign) แปลว่า ที่ คั่นระหว่างชื่อกับโดเมน
                ส่วนที่เป็นชื่อของโดเมนจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และสถานที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ เช่น
budsayaphan @ hotmail.com ชื่อผู้ใช้ ที่ ชื่อโดเมน รหัสโดเมน เป็นลำดับชั้นของเครือข่ายโดยจะใช้เครื่องหมาย จุด คั่นระหว่างลำดับชั้น ลำดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ทางด้านขวาสุด แนวความคิดของการแบ่งลำดับชั้นของโดเมนก็คล้ายกับการแบ่งที่อยู่ออกเป็นหมู่ บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ
ระบบการทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                เป็นระบบที่บุคลากรในหน่วยงานของจังหวัด สามารถติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดจะเป็นผู้แจกจ่าย E-mail address ให้กับบุคคลภายในหน่วยงานของจังหวัด ซึ่งลักษณะการใช้งานจะเป็นลักษณะของ Web Application สามารถใช้บริการ Web mail Application ได้ในลักษณะดังต่อไปนี้
   1.สามารถส่ง E-mail ไปยังผู้รับที่อยู่ในเครือข่ายของจังหวัด หรือผู้รับที่อยู่ภายนอกเครือข่ายของจังหวัดได้
   2.มีระบบบัญชีรายชื่อส่วนตัว (Address book) ที่สามารถเลือกส่ง E-mail ได้
   3.ในการส่ง E-mail สามารถแนบแฟ้มข้อมูลที่ต้องการส่งไปได้
   4.สามารถลบ E-mail ที่ไม่ต้องการออกได้
   5.สามารถใช้งานร่วมกับระบบงานสารบรรณได้





http://www.panyathai.or.th

การเขียนจดหมายธุรกิจ


 การเขียนจดหมายธุรกิจ

ความหมายและความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในวงการธุรกิจ โดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจระหว่างหน่วยงานหรือบุคคลธรรมดา จดหมายธุรกิจมีความแตกต่างจากจดหมายส่วนตัวบ้างในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา คือ จะใช้เป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ เช่น จดหมายเสนอขายสินค้าหรือบริการ จดหมายติดตามหนี้ จดหมายร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือเสียหาย
จดหมายธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการธุรกิจ ซึ่งสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ประหยัด การเขียนจดหมายไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการไปติดต่อด้วยตนเอง แต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบในการสื่อสารและประโยชน์ที่จะได้รับด้วย เพราะบางเรื่องควรติดต่อทางโทรศัพท์เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า
2. สะดวกรวดเร็ว ในกรณีที่ผู้มาติดต่อธุรกิจด้วยมีงานมากหรืออยู่ไม่เป็นที่ซึ่งไม่สะดวกที่จะติดต่อทางโทรศัพท์หรือขอเข้าพบด้วยตนเอง
3. การให้รายละเอียดข้อมูล สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้มาก เพราะผู้เขียนมีเวลาเตรียมการเขียน และสามารถตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนส่งจดหมายอีกด้วย
4. ใช้เป็นหลักฐาน เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่อง และที่สำคัญที่สุดเป็นหลักฐานทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน
5. เป็นสื่อสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อธุรกิจ บางครั้งลูกค้าอาจขาดการติดต่อไปบริษัทจำเป็นต้องมีจดหมายไปถึงลูกค้าเพื่อขอทราบสาเหตุที่แท้จริง พร้อมทั้งแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา หรือเสนอบริการพิเศษต่างๆเพื่อจูงใจลูกค้า และยังสามารถช่วยลดการกระทบกระทั่งอันรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์หรือการพบกันด้วยตนเอง

ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. จดหมายธุรกิจประเภทให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อกันในแต่ละวัน ส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับการติดต่อธุรกิจ หรือการติดต่อซื้อขาย ควรนำเสนอข้อมูลที่ตรงประเด็นและสั้น จดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายสอบถามและจดหมายตอบ จดหมายสั่งซื้อและจดหมายตอบ จดหมายร้องเรียนและจดหมายตอบรับการร้องเรียน จดหมายแจ้งการขอปิดบัญชี จดหมายเชิญ จดหมายขอบคุณ เป็นต้น

จดหมายธุรกิจประเภทให้ข้อมูลข่าวสารประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ดังนี้
1.1 ส่วนต้น ได้แก่ ย่อหน้าแรกที่ระบุเหตุผลที่เขียนจดหมาย และอารัมภบทให้ทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีเนื้อหาอย่างไร ส่วนนี้ควรมีความยาวระหว่าง 1-2 ประโยค
1.2 ส่วนกลาง ได้แก่ ย่อหน้าถัดมา เป็นย่อหน้าเนื้อหาที่ครอบคลุมคำอธิบายหรือรายละเอียดต่างๆที่จำเป็น ตลอดจนอ้างถึงเอกสารที่แนบมากับจดหมาย ส่วนนี้อาจมีมากกว่า 1 ย่อหน้าได้
1.3 ส่วนท้าย ได้แก่ การลงท้ายอย่างสุภาพ นุ่มนวล โดยระบุการกระทำที่ต้องการให้ผู้รับจดหมายหรือผู้อ่านปฏิบัติ กำหนดเวลา และการแสดงไมตรีจิตเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
2. จดหมายธุรกิจประเภทโน้มน้าวใจ ในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับจิตวิทยาของผู้อ่าน เช่นการบอกข่าวดีหรือไม่ดีแก่ผู้อ่าน การเสนอขายสินค้าหรือบริการแก่ผู้อ่าน ควรเขียนจดหมายธุรกิจในเชิงโน้มน้าวจิตใจ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับผู้เขียน ได้แก่ จดหมายตอบปฏิเสธการร้องเรียน จดหมายเสนอขาย จดหมายตอบปฏิเสธการขอเปิดเครดิตหรือบัญชีเงินเชื่อ จดหมายตอบปฏิเสธการเชิญ จดหมายแนะนำบุคคล จดหมายติดตามหนี้ เป็นต้น
จดหมายธุรกิจประเภทโน้มน้าวจิตใจ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ดังนี้
2.1 ส่วนต้น ได้แก่ ส่วนที่เชื่อมโยงเข้าหาตัวผู้อ่าน ควรให้ความรู้สึกในเชิงบวกหรืออย่างน้อยที่สุด ให้เป็นกลางๆ
2.2 ส่วนกลาง ได้แก่ ส่วนที่นำเสนอหลักฐานอธิบาย ชี้แจงเหตุผลหรือความจำเป็นเพื่อส่งเสริมให้ประเด็นที่จะนำเสนอมีเหตุผลและยุติธรรม ซึ่งช่วยลดการกระทบกระทั่ง หลังจากนั้นจึงระบุประเด็นหรือข้อสรุปไว้ในตอนกลางหรือตอนท้าย ข้อสรุปจะต้องชัดเจน ไม่กำกวม
2.3 ส่วนท้าย ได้แก่ การลงท้ายในเชิงบวกอย่างนุ่มนวล ที่สำคัญคือ หากผู้เขียนไม่สามารถพิจารณาถึงความเห็นหรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อสรุปหรือข้อตัดสินใจได้อีก ก็ไม่ควรให้ความหวังใดๆแก่ผู้อ่าน


www.kkw.rmutr.ac.th